ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

ลองคิดดูวัดสามหมื่นวัดทั่วประเทศ ใครจะกล้าบวชพระ ใครจะกล้าเป็นเจ้าอาวาส สามหมื่นวัดมิร้างจากแผ่นดินไทยหรอกหรือ

ลองคิดดูวัดสามหมื่นวัดทั่วประเทศ ใครจะกล้าบวชพระ ใครจะกล้าเป็นเจ้าอาวาส สามหมื่นวัดมิร้างจากแผ่นดินไทยหรอกหรือ 


ดูวัดพระธรรมกายเป็นกรณีตัวอย่าง หน่วยงานท้องถิ่นใช้กฎหมายแบบให้โทษ
ตั้งข้อหาเล็กๆ น้อยๆ ไปเกือบ 200 คดี แต่ละคดีโทษก็ไม่มาก แค่เสียค่าปรับหรือติดคุกคดีละ 1 ปีเท่านั้นเอง รวมระยะเวลาพ้นโทษก็ 200 ปีพอดี


ลองคิดดูว่าถ้าวันหนึ่งเกิดเรื่องแบบนี้กับวัดสามหมื่นวัดทั่วประเทศบ้าง ใครจะกล้าบวชพระ ใครจะกล้าเป็นเจ้าอาวาส สามหมื่นวัดมิร้างจากแผ่นดินไทยหรอกหรือ ขนาดหลวงพ่อท่านนอนป่วยอยู่เฉยๆ ยังโดนข้อหาไปเกือบ 200 คดีแล้ว ... เวลาพระไปรับทราบข้อกล่าวหา ปีหน้าคงต้องเอาเข่งไปที่โรงพักด้วย
Cr : Ptt Cnkr



ปธ.ศาลฎีกาแนะผู้พิพากษา เลี่ยงสั่งจำคุกคดีผิดเล็กน้อย
แก้ปัญหานักโทษล้นคุก...ประธานศาลฎีกา"วีระพล ตั้งสุวรรณ"แนะนำให้ผู้พิพากษาใช้ดุลยพินิจเลี่ยงสั่งจำคุกคดีผิดเล็กน้อย ใช้วิธีคุมประพฤติชนิดเข้มงวด เน้นกลุ่มทำผิดครั้งแรกพลาดพลั้งไม่ติดนิสัยทำผิดซ้ำ ด้านโฆษกยุติธรรมชี้ เป็นการช่วยคลายปมเสนอกฎหมายชะลอฟ้อง ...


เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. นายอธิคม อินทุภูติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยถึงการแก้ไขกฎหมายในช่วงปี 2559 ว่า ปัจจุบันมีผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาในเรือนจำสูงมากถึง 300,000 คน  จนมีแนวคิด เสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 25 พ.ศ.2559 แก้ไขหลักเกณฑ์การรอการลงโทษรอการกำหนดโทษ และการคุมความประพฤติ ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้ว ทั้งนี้ นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา ได้มีคำแนะนำเรื่องนี้โดยออกเป็นคำแนะนำประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับวิธีการรอการกำหนดโทษ , รอการลงโทษ และกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติ พ.ศ.2559 แล้ว

ด้านนายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวเสริมว่า ประธานศาลฎีกา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการหลีกเลี่ยงการลงโทษจำคุกในระยะสั้น และส่งเสริมให้นำวิธีการต่าง ๆ ที่บัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มาใช้ จึงออกเป็น "คำแนะนำของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับวิธีการ รอการกำหนดโทษ กับรอการลงโทษ และการกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ พ.ศ.2559" ซึ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 ต.ค.59 ที่ผ่านมาโดยมีรายละเอียดสาระสำคัญ 16 ข้อ ให้ผู้พิพากษาใช้พิจารณาประกอบดุลยพินิจได้อย่างเหมาะสม ที่จะได้มาจากข้อมูลต่าง ๆ จากการสอบถามจำเลย จากสำนวนการสอบสวน หรือรายงานการสืบเสาะพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติ โดยศาลอาจใช้ดุลพินิจรอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษไว้ ซึ่งมุ่งเน้นใน 2 กรณี คือ
มุ่งเน้นสำหรับการกระทำความผิดครั้งแรก และจำเลยยังไม่สมควรที่จะถูกลงโทษให้มีมลทินติดตัว 

และแม้จำเลยจะทำความผิด แต่ไม่ใช่ผู้ที่กระทำผิดจนติดเป็นนิสัย หรือทำซ้ำบ่อย ๆ โดยยังอยู่ในภาวะที่แก้ไขได้ประธานศาลฎีกา จึงออกเป็นคำแนะนำว่ากรณีเช่นนี้อาจนำวิธีการรอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษมาใช้โดยกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้กระทำความผิดซ้ำอีก ด้วยการกำหนดเงื่อนไขการคุมความประพฤติโดยเน้นมาตรการแก้ไขฟื้นฟูและป้องกันไม่ให้จำเลยทำความผิดซ้ำ ซึ่งการรู้สำนึกในการกระทำความผิดและการแก้ไขเยียวยาจะส่งผลให้จำเลยที่กระทำความผิดไม่ร้ายแรง ได้มีโอกาสแก้ไข ปรับปรุงและกลับตัว ไม่มีมลทินติดตัว และยังทำให้ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจรอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น 

"เมื่อมีคำแนะนำประธานศาลฎีกาในเรื่องนี้แล้ว ความจำเป็นที่จะให้มีการพิจารณาเรื่องกฎหมายชะลอฟ้องที่เคยเสนอกันเพื่อแก้ปัญหาผู้ต้องขังล้นคุกนั้น ก็ผ่อนคลายลงไป โดยเป็นการใช้อำนาจตุลาการตรวจสอบคดีที่มีการฟ้องคดีขึ้นมา ซึ่งศาลจะใช้ดุลยพินิจพยานหลักฐานว่ามีความผิดหรือไม่ ถ้ามีความผิดควรใช้มาตรการลงโทษระดับใด มิใช่การใช้อำนาจชะลอฟ้องไปก่อนจะฟ้องคดี" โฆษกศาลยุติธรรมกล่าวตอนท้าย

ขอบคุณที่มา www.dailynews.co.th

ไม่มีความคิดเห็น